30bath http://30bath.siam2web.com/

มีบัตรทองแล้ว………………… เมื่อเจ็บป่วยจะต้องทำอย่างไร ?

                - เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลที่ระบุในบัตรทอง

                - แสดงความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิบัตรทองทุกครั้ง

                -แสดงบัตรทองพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตร หรือใบเกิด)

                - กรณีที่เจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไปหรือไม่ฉุกเฉิน ควรไปรักษาในเวลาทำการ หรือเวลาที่สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลกำหนด

 

 เมื่อได้รับอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินทำอย่างไร ?

                - กรณีอุบัติเหตุเข้ารับการรักษาได้ที่สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง หรือโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ

                - กรณีฉุกเฉินไปรักษาโรงพยาบาลอื่นที่ไม่ได้ระบุในบัตรทองได้

 

บริการที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายเมื่อใช้บัตรทอง

                1. การตรวจและการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์

                2. การดูแลสุขภาพเด็ก พัฒนาการและภาวะโภชนาการของเด็ก รวมถึงการให้ภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ

                3. การตรวจสุขภาพประชาชนทั่วไป (ตามเกณฑ์อายุ) และกลุ่มเสี่ยง

                4. การวางแผนครอบครัว

                5. ยาต้านไวรัสเอดส์ กรณีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่ที่กำลังตั้งครรภ์สู่ลูก

                6. การเยี่ยมบ้าน และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

                7. การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการในระดับบุคคลและครอบครัว

                8. การให้คำปรึกษา และการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ

                9. การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่การตรวจสุขภาพช่องปาก

การแนะนำด้านทันตสุขภาพ การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยฉายรังสีบริเวณศีรษะ และลำคอ รวมทั้งการเคลือบหลุมร่องฟัน

บริการที่บัตรทองไม่คุ้มครอง

                1. โรคจิตที่ต้องรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในเกินกว่า 15 วัน

                2. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด

                3.อุบัติเหตุการประสบภัยจากรถและอยู่ในความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเฉพาะส่วนที่บริษัทหรือกองทุนตามกฎหมายนั้นต้องเป็นผู้จ่าย (ใช้พรบ.ก่อน)

                4. การรักษาภาวะมีบุตรยาก

                5. การผสมเทียม

                6. การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

                7. การตรวจวินิจฉัยและรักษาใด ๆ ที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

                8. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน ยกเว้นกรณีมีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากภาวะแทรกซ้อน หรือมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

                9. การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง

                10. การรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไต และการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

                11.ยาต้านไวรัสเอดส์ (ยกเว้นกรณีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่ที่กำลังตั้งครรภ์   สู่ลูก)

                12. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 3,922 Today: 3 PageView/Month: 19

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...